วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

การ เลือกรองเท้านิรภัยให้ถูกต้อง ควรเริ่มจากการทำการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยการกำหนดความเสี่ยง จากสภาพแวดล้อมของการทำงาน เพื่อที่จะเลือกกำจัดหรือป้องกันอันตรายจากการทำงาน ซึ่งจะต้องทราบลักษณะงานหรือ สถานที่ทำงานอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ทราบระดับของการป้องกัน และสามารถเลือกใช้รองเท้าได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

ความปลอดภัยรวมถึง

  • ป้องกันแรงกระแทกตรงหัวรองเท้า
  • ชั้นตรงกลางของพื้นรองเท้า ป้องกันการเจาะทะลุ
  • ภายนอกป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิตย์
  • ภายในป้องกันความร้อน
  • ป้องกันความเย็น
  • กันน้ำ
  • ป้องกันน้ำมัน
  • ต้านทานสารเคมี
  • พื้นรองเท้ากันลื่น



วัสดุและโครงสร้างหลักของรองเท้านิรภัย

      1. หัวรองเท้า: เพื่อป้องกันสิ่งของที่ตกมากระแทกกับนิ้วเท้า รองเท้านิรภัยที่ได้รับมาตรฐานจะต้องมีหัวรองเท้าที่สามารถ ป้องกันแรงกระแทกสูงถึง 200 จูลได้ หัวรองเท้ามีทั้งที่ทำจากโลหะ (Steel Toe Cap) หรือพลาสติกแข็ง (Composite Toe Cap) ซึ่งแข็งแรงและมีน้ำหนักเบากว่า


      2. พื้นรองเท้า: เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากของมีคมหรือวัตถุที่มีปลายแหลม กระแสไฟฟ้า น้ำมันและสารเคมี ชนิดของพื้นรองเท้ามีหลายประเภท ที่พบมากได้แก่

พื้นยาง Nitrile สำหรับการทำงานในอุณหภูมิสูง ทนทานต่อน้ำมัน และสารเคมี
พื้น PU (Polyurethane) มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อน้ำมัน และสารเคมี
พื้น TPU (Thermo-Plastic Urethane) มีน้ำหนักเบา ความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อน้ำมัน และสารเคมี


     3. ตัวรองเท้า      

มาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป EN345 รองเท้านิรภัยคู่ใดจะได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน EN345 อันเป็นข้อบังคับหลักของยุโรปหรือเครื่องหมายมาตรฐาน ISO EN20345 ซึ่งได้กำหนดขึ้นมาใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้


  • หัวรองเท้า (Safety Toes) ต้องให้การป้องกันแรงกระแทก (Impact) สูงถึง 200 จูลได้
  • ผ่านการทดสอบแรงบีบ (Compression Test)
  • วัสดุส่วนบน (The Upper Material) ต้องมีคุณภาพและความหนาที่สามารถต้านทานการขัดสี (Abrasion Resistance) ในระดับที่กำหนดไว้
  • พื้นรองเท้า ต้องมีความต้านทานความร้อน (Heat Resistance) ความต้านทานการขัดสี (Abrasion Resistance) การดูดซับแรงกระแทก (Shock Absorption) รวมทั้งความต้านทานทั้งน้ำมันและสารเคมีชนิดที่ได้กำหนดไว้แล้ว (Resistance to both oil and certain chemicals)



ทั้งนี้ มาตรฐาน EN 345 และ ISO EN20345 บังคับให้ผู้ผลิตเพิ่มตัวอักษรระบุวัตถุประสงค์การใช้งาน หรือสภาพแวดล้อมในการ ใช้งานรองเท้า โดยเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ได้แก่



SB (Safety Basic)



สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน



SBP (SB with pierce resistant midsole)



สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นต้านทานการแทงทะลุ



S1 (SB with anti-static sole and cushioned heel area)



สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิตย์



S1P (S1 with pierce resistant midsole)



สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิตย์ รวมทั้งพื้นต้านทานการแทงทะลุ

S2 (S1 with water resistant upper)



สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิตย์ รวมทั้งส่วนบนต้านทานน้ำ



S3 (S2 with pierce resistant midsole)                          



สำหรับรองเท้าที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิตย์ ส่วนบนต้านทานน้ำ
รวมทั้งพื้นต้านทานการแทงทะลุ



หากรองเท้านิรภัยนั้นมีคุณสมบัติพิเศษนอกเหนือจากที่กล่าวมา จะมีสัญลักษณ์เพิ่มเติมด้านท้ายเช่น



P - มีพื้นเหล็ก ป้องกันการเจาะทะลุได้ 1,100 นิวตัน
C - Conductive footwear รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตย์แบบตัวนำ
A - Antistatic footwear รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตย์
HI - รองเท้ามีฉนวนป้องกันความร้อน
CI - รองเท้ามีฉนวนป้องกันความเย็น (-20 C)
E - พื้นรองเท้าช่วยดูดซับแรงกดที่ส้นเท้า 20 จูล
WRU - รองเท้าส่วนบนป้องกันน้ำซึมเข้ารองเท้า
HRO - พื้นรองเท้าทนความร้อน 300 องศาเซลเซียสนาน 1 นาที
CRO - พื้นรองเท้าป้องกันน้ำมัน



วิธีการป้องกันตัวขั้นพื้นฐาน โดย อนุสรณ์ เบสเซฟ


ทุกที่บนโลกใบนี้ล้วนมีความเสี่ยงในชีวิต และทรัพย์สินที่สามารถเกิดอันตรายเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดกับตัวเราเมื่อไหร่ ฉะนั้นเราจึงควรเรียนรู้และศึกษา พื้นฐานความรู้ในการป้องกันตัวต่างๆ เพื่อจะได้มีสัญชาตญาณในการป้องกันอันตรายที่ถูกต้อง เมื่อภัยหรืออันตรายมาถึงตัวจะได้เอาตัวรอด หรือลดความเสียหายได้ โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาที่สหรัฐอเมริกา จะได้รับการอบรมให้รู้จักวิธีการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเราสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาเรียนรู้กับตัวเราเองได้ อนุสรณ์ เบสเซฟ จึงขอนำบทความนี้มาเผยแพร่เป็นความรู้ให้กับท่านผู้อ่าน

วิธีการป้องกันตัวขั้นพื้นฐานที่ทาง อนุสรณ์ เบสเซฟ เน้นย้ำบ่อยๆ เวลาไปจัดอมรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

     1. หากเลือกพักอาศัยนอกสถานศึกษา ให้ศึกษาทำเลที่ตั้งและสภาพชุมชมรอบบริเวณที่จะเลือกพัก  และให้เลือกพักอาศัยในทำเลที่ปลอดภัยไว้ก่อน

     2. อย่าเดินคนเดียวยามค่ำคืน หากจำเป็น ควรหาคนเดินเป็นเพื่อน เลือกคนที่ไว้ใจได้   บางสถานศึกษามีบริการจัดหาเพื่อนร่วมเดิน (Accompaniment Services) หลังเลิกเรียนหรือหลังห้องสมุดปิดในตอนเย็นหรือค่ำ  บางสถานศึกษามีตำรวจประจำสถานศึกษาซึ่งคอยให้บริการเดินเป็นเพื่อนกลับหอพัก

     3. ให้ใส่กลอนประตูหน้าต่างทุกบานให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องพัก อพาร์ทเม้นท์ หรือรถ  และอย่าทิ้งสิ่งของมีค่าไว้ในที่พักหรือรถเป็นอันขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินสดและเครดิตการ์ด

     4. อย่าพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมาก และอย่าสวมใส่เครื่องประดับราคาแพง

     5. อย่าขึ้นรถไปกับคนแปลกหน้า  ห้ามโบกรถ และห้ามรับคนโบกรถขึ้นรถเด็ดขาด

     6. ระมัดระวังกระเป๋าถือหรือกระเป๋าสตางค์ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีคนหนาแน่น เพราะจะมีพวกมิจฉาชีพอยู่เยอะ   หากพกกล้องถ่ายรูป เครื่องแลปท๊อป ฯลฯ ก็ให้ถือหรือสะพายติดตัวด้วยความระมัดระวัง อย่าวางบนโต๊ะเก้าอีโดยไม่มีใครเฝ้าดูแลโดยเด็ดขาด

     7. อย่าเปิดประตูบ้านให้คนแปลกหน้า ถ้ามีผู้อ้างตนเป็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ขอดูบัตรประจำตัว โดยอาจขอให้สอดบัตรผ่านใต้ประตู และให้โทรตรวจสอบกับสถานีตำรวจว่ามีคนชื่อดังกล่าว และได้รับมอบหมายให้มาตรวจสอบที่บ้านหรือไม่ (เคยมีกรณีตัวอย่างของนักเรียนเปิดประตูให้กับคนร้ายซึ่งอ้างตนเป็นตำรวจแล้ว)

     8. ถ้าประจัญหน้ากับผู้ร้าย ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือตามถนน  อย่าขัดขืน ขัดขวาง  หรือต่อสู้กับคนร้าย  จำไว้เสมอ “เสียทรัยพ์สินดีกว่าเสียชีวิต”   ให้ทำใจเย็น ๆ และสังเกตรูปพรรณสัณฐานของคนร้ายให้มากที่สุด  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนและสืบหาตัวคนร้ายต่อไป